ชีวิตคนเรามีแค่ 4,000 สัปดาห์

สวัสดีค่ะ วันนี้พลอยศรีนำหนังสือที่อ่านเรื่อง “ชีวิตของคนเรามีแค่สี่พันสัปดาห์” มาบันทึก บอกเลยว่ามันเป็นหนังสือที่ดีมากๆ อ่านแล้วรู้สึกว่าต่อจากนี้เราจะมีอิสระที่แท้จริงถ้าเราสามารถปฎิบัติตามได้

เอาจริงๆนะ หนังสือค่อนข้างประหลาด แปลกแหวกแนวสักหน่อย อ่านแรกๆก็เหมือนจะย้อนแย้งกับสังคมปัจจุบันที่เน้นให้คนเราทำงานยุ่งๆให้สำเร็จ ถ้าทำงานหลายอย่างสำเร็จได้ในหนึ่งวัน เราจะรู้สึกว่าวันนี้เป็นวันที่มีประสิทธิภาพ มีความโปรดักทีฟ อะไรทำนองนั้น

หนังสือจะเล่าเรื่องราวของคนที่มักจะทำงานหลายๆอย่างสำเร็จ แต่บางทีงานนั้นไม่ได้สำคัญเท่าไหร่ คือ เป็นคนที่ดูยุ่งตลอดเวลา จนไม่มีเวลาทำ หรือเติมเต็มสิ่งที่สำคัญกับชีวิตจริงๆ ยุ่งจนไม่มีเวลาดื่มด่ำกับช่วงเวลา หรือจังหวะแห่งความสุขเล็กๆที่เกิดขึ้น

บางคนมองว่าการพักผ่อน การนั่งเฉยๆ การทำงานน้อยชิ้นเป็นเรื่องของความขี้เกียจ ความไร้สาระ หรือเป็นการใช้ชีวิตไม่คุ้ม

เอาจริงๆ ก่อนที่เราจะอ่านหนังสือเล่มนี้เราก็คงคิดเหมือนกับคนหมู่มากแหละว่า ชีวิตเราต้องรู้จักบริหารเวลา ต้องสามารถทำสิ่งต่างๆที่เราอัดเข้าไปจนแน่นตารางให้สำเร็จลุล่วงได้ตามแผนและเวลาที่คาดการณ์ไว้ เราจึงจะดูเป็นคนที่ทุ่มเท เป็นคนที่ทำงานและใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าเรานั้นจะเหนื่อยล้าเกินกำลังก็ตาม

เราต้องมีการเขียนตารางงานที่ต้องทำและอัดเข้าไปแน่นๆ ดูว่าชีวิตมีอะไรทำ ดูเป็นคนยุ่ง เวลาไปเที่ยวไหนเราต้องอัดสถานที่และแผนการเข้าไปเยอะๆ ไปแบบเที่ยวดูแป๊บๆถ่ายรูปสองสามภาพ ไปแบบเก็บแต้ม และความรู้สึกเติมเต็มของเราก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการเวลาเพื่อที่จะได้ทำสิ่งต่างๆได้มากกว่าความสามารถที่เราทำได้จริง

สุดท้ายแล้วคนที่พยายามยัดเอาสิ่งต่างๆใส่เข้าไปในชีวิตเยอะๆ ดูจะมีความพึงพอใจน้อยกว่าสิ่งที่คาดหวังเอาไว้ เพราะมันคือการพยายามกลืนกินเอาประสบการณ์ต่างๆที่โลกนี้พยายามมอบให้ เพื่อให้คุณรู้สึกว่าคุณได้ใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า ได้ใช้ชีวิตอย่างแท้จริง แต่ในความเป็นจริงคือ โลกนี้มีประสบการณ์มาเสนอให้อย่างไม่สิ้นสุด

และกับดักของความมีประสิทธิภาพนั้นก็เป็นภัยชนิดหนึ่ง เพราะเมื่อคุณได้ไปถึงจุดหนึ่ง คุณก็อยากจะไปให้ถึงอีกจุดหนึ่ง ยิ่งเคยสัมผัสประสบการณ์ยอดเยี่ยมเท่าไร คุณก็อยากจะไปให้ถึงจุดที่เหนือกว่าที่เคยได้รับ สุดท้ายคือ ความเหนื่อยที่เกินจะรับไหว กับการวิ่งตามวิ่งล่าที่ไม่รู้จักสิ้นสุด

อ่านๆไปเรื่อยๆก็พบว่า หากเราอยากจะมีอิสระในชีวิต อยากจะทำงานที่สำคัญในชีวิตให้มีประสิทธิภาพจริงๆ เราต้องรู้จักเสียสละนะ สละสิ่งที่สำคัญน้อยหรือความต้องการชั้นรองออกไป เราต้องเลือกค่ะ เลือกว่าในชีวิตนี้เราต้องการอะไรอย่างแท้จริง งานไหนสำคัญกับเราจริงๆ และใช้เวลากับสิ่งนั้นอย่างตั้งใจ กำหนดขอบเขตเวลาให้ชัดเจน

อ่านรวมๆก็ประมาณว่าอยู่กับปัจจุบันขณะทำนองนั้น ใช้เวลาตอนนี้ ดื่มด่ำกับสิ่งต่างๆตรงหน้า อย่าใช้เวลาตอนนี้เพื่อเวลาในอนาคต อะไรที่คิดว่าไม่สำคัญกับเราตัดออกไปเลย เราต้องกล้านั่นแหละ กล้าที่จะตัด กล้าที่จะเลือก และเราจะมีอิสระจากสิ่งต่างๆที่เราคิดว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ ทั้งๆที่มันไม่ค่อยสำคัญกับเราเท่าไหร่

เลิกหมกมุ่นกับการเช็คอีเมล การตอบว๊อทแอป ตอบไลน์ หรือการวิ่งไล่ตามรายการที่ต้องทำ สถานที่ๆต้องไปอย่างหัวหดก้นขวิด เลิกหลอกตัวเองว่ายิ่งทำมากยิ่งโปรดักทีฟมาก แต่ให้ย้อนคิดว่า ชีวิตของคนเรานั้นมีแค่ประมาณสี่พันสัปดาห์ โดยเฉลี่ยว่าอายุคนเราจะอยู่ที่ประมาณแปดสิบปี และให้กลับมาตระหนักว่าตอนนี้เรามีชีวิตเหลืออยู่อีกกี่สัปดาห์ เวลาของเราเหลือน้อยลงไปทุกทีแล้ว อะไรคือสิ่งที่สำคัญกับเราจริงๆ

ดังนั้นจงใช้ชีวิตให้มีคุณค่า มีอิสระ เลือกทำสิ่งที่คิดว่าสำคัญกับชีวิตเราที่สุด สละสิ่งที่ต้องการแต่ไม่สำคัญมากออกไปจากตาราง ยอมรับข้อจำกัดของชีวิตและทำอย่างตั้งใจในเวลาปัจจุบัน แล้วเราจะได้รับผลงาน ผลผลิตอย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่รีบเร่งทำแบบแค่ให้สำเร็จไป

พลอยศรีชอบคำว่าทำไปตามภาระกิจ คือทำไปเรื่อยๆอย่างตั้งใจแต่ไม่รู้สึกว่าต้องเร่งรีบไปสู่เวลาของการทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ที่คนเราสมมุตกันขึ้นมา ต้องเชื่อว่าเราไม่ได้สำคัญในจักรวาล มันจะมีความหมายอะไรถ้าเราใช้เวลาทั้งหมดที่เรามีไปในแบบที่เราต้องพยายามทำให้มันรู้สึกว่ามันมีคุณค่าอยู่ตลอดเวลา

และพอมาถึงบทส่งท้ายเค้าได้เขียนถึงเครื่องมือสำหรับการเปิดใจรับขีดจำกัดของเรา คือ ดีอ่ะ มีสิบข้อดังนี้ค่ะ

  1. ใช้วิธีการกำหนดปริมาณที่แน่นอนสู่การมีผลิตภาพ นั่นคือ การโฟกัสและตัดสินใจอย่างมีสติ เลือกรายการที่ต้องทำไม่เกินสิบอย่าง กำหนดขอบเขตเวลาไว้ลวงหน้าสำหรับงานประจำวัน
  2. จัดลำดับงาน มุ่งความสนใจไปที่โครงการใหญ่ครั้งละหนึ่งโครงการ แล้วจัดการทำให้สมบูรณ์ก่อนไปเริ่มโครงการถัดไป จัดการกับความกังวลจากการมีความรับผิดชอบงานที่มากเกินไปทุกงาน ผลักดันทุกอย่างออกไปอย่างมีสติ ให้เหลือเรื่องที่ต้องทำเพียงเรื่องเดียว ให้ทำงานที่จำเป็นจริงๆไม่ใช่ทำไปเพื่อระงับความกังวล
  3. ตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะล้มเหลวเรื่องใด เพราะเวลาและพลังของเรามีขีดจำกัด การที่เราตัดสินใจล่วงหน้าว่าเราจะระเบิดสิ่งใดทิ้ง จะช่วยทำให้เราขจัดความเจ็บปวดและละอายออกไป
  4. มุ่งเน้นไปในสิ่งที่สำเร็จแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จ ภาระกิจนั้นมีไม่สิ้นสุด คุณจะไม่มีทางรู้สึกดีกับตัวเองจนกว่าทุกอย่างจะเสร็จ
  5. รวบยอดความใส่ใจของคุณ คือการเข้าใจว่า การจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ เราต้องทุ่มเทความใส่ใจที่มีปริมาณจำกัดของเราไปในบางเรื่องเท่านั้น
  6. โอบรับเทคโนโลยีที่น่าเบื่อและมีวัตถุประสงค์เดียว
  7. แสวงหาความแปลกใหม่ในความจำเจ คือการให้ความสนใจกับทุกช่วงเวลามากขึ้นไม่ว่ามันจะจำเจแค่ไหนก็ตาม
  8. เป็นนักวิจัยในความสัมพันธ์
  9. บ่มเพาะการทำความดีโดยไม่รั้งรอ
  10. ฝึกที่จะอยู่เฉยๆ คือการฝึกให้ตัวเองต้านแรงกระตุ้นที่ทำให้คุณอยากจัดการกับประสบการณ์ของคุณเอง หรือของคนอื่นและสิ่งต่างๆในโลกรอบตัวคุณ คือการปล่อยให้สิ่งต่างๆเป็นอย่างที่มันเป็น

ก็เนี่ยแหละคะหายเงียบๆไปสองสามวัน มัวแต่อ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ อ่านเหมือนจะยากนะแต่ก็พอเข้าใจได้ และก็รู้สึกว่ามันดีจริงๆนะ เป็นหนังสือเล่มที่มีคุณค่าของปีนี้ก็ได้ อย่างน้อยก็ทำให้เราได้เรียนรู้ว่าการบ้าโปรดักทีฟมากก็ทำให้เราเหนื่อยล้าจนเกินไป การที่เราอยู่เฉยๆบ้างก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีคุณภาพ แต่เราต้องเรียนรู้ว่าอะไรควรเลือกทำ อะไรควรเลือกสละมากกว่า

มันเหมือนเป็นหนังสือฮาวทู ทำน้อยได้มากอะไรทำนองนั้น ขอบคุณน้องสาวแพรผู้มอบหนังสือเล่มนี้ให้ พลอยศรีมองหนังสือเล่มนี้จดๆจ้องๆมาพักนึงรู้สึกอยากจะได้มาอ่านมาขึ้นชั้น พอดีน้องมาเยี่ยมนางก็มีหนังสือมาฝาก พอเห็นปกคือ แทบกรี๊ด ดีใจมาก ขอบคุณจริงๆ

พลอยศรีชอบนะ กับคำพูดที่ว่า ถ้ารักใครให้มอบหนังสือดีๆให้เค้าสักเล่ม พลอยศรีว่าหนังสือเล่มนี้ดีค่ะ ส่งมอบกันต่อไป อ่านแล้วคิดทบทวนว่า “ในชีวิตนี้เรากำลังวิ่งล่าไล่ตามหรือเก็บแต้มอะไรจนเกินความสามารถตัวเองไปหรือเปล่า”

สำหรับวันนี้อีหนึ่งวันดี อีกหนึ่งบันทึก สุขใจ ยิ้มกว้าง สวัสดีค่ะ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s